10 เทคนิคเมนูอาหาร
การออกแบบเมนู เป็นจิตวิทยาช่วยดึงดูดลูกค้าได้อย่างไร เคยสำรวจตัวเองเวลาไปทานอาหารที่ร้านหรือไม่ บางครั้งเราใช้เวลาไม่นาน ในการตัดสินใจเลือกเมนู แต่บางครั้งก็ดูแล้วดูอีกก็ยังเลือกไม่ได้ นั่นแหละครับ การออกแบบเมนู ส่งผลต่อการตัดสินใจด้วยเช่นกัน ถ้าเจ้าของร้าน ออกแบบเมนูดี สะดุดตาก็จะช่วยดึงดูด ให้ลูกค้าสั่งอาหารได้เร็วขึ้น มากขึ้น และบางครั้งยังชักจูงให้ลูกค้าสั่งอาหารจานที่เรากำหนดได้ด้วย โดยใช้หลักการหลายอย่างประกอบ เช่น การใช้สี การจัดวางองค์ประกอบ การใช้คำ เป็นต้น ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้กันเลยครับ
1.สีสื่อความหมายต่อผู้บริโภค
ทฤษฎีสี เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรศึกษาไว้ เพราะสีส่งอิทธิพลต่อการรับรู้ของมนุษย์ได้มากกว่าที่คิด เช่น สีเขียว สื่อความหมายถึงความสดชื่น จึงควรใช้ประกอบเมนูที่โดดเด่นด้านความสด สะอาด / สีส้ม ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร สีเหลือง สื่อความหมายถึงความสุข จึงดึงดูดสายตาของลูกค้าได้ดี สีแดง กระตุ้นให้เกิดการซื้อ ฉะนั้นจึงควรใช้กับเมนูที่เราอยากขายมากที่สุด เป็นต้น
2.ทฤษฎีสามเหลี่ยมทองคำ
ทฤษฎีนี้ เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบที่มีชื่อว่า Golden Triangle โดยปกติแล้วเวลาเรามองเมนูอาหาร สายตาจะตรงไปที่บริเวณกึ่งกลางก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เลื่อนสายตาไปด้านขวาบน และสุดท้ายจะหยุดที่ด้านซ้ายบน เกิดเป็นสามเหลี่ยมกลับหัว ฉะนั้น คุณควรใส่เมนูที่โดดเด่น และต้องการให้ลูกค้าสั่งมากที่สุด บริเวณ 3 จุดนี้ รับรองว่าได้ผลแน่นอน
3.ใช้คำให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ
การใช้คำอธิบายเมนู เช่น “จานเด็ด” “Recommend dish” “ไก่กรอบหมักซอสซุปเปอร์” “หมูสะท้านโลก” ซึ่งคำอธิบายเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจและอยากสั่งอาหารได้มากเลยทีเดียว ว่าเมนูนี้มีหน้าตาอย่างไร ส่วนผสมอะไรบ้าง ดังนั้น ลองคิดคำเด็ดๆ แล้วใส่ลงไปในเมนูที่คุณอยากขาย แต่อย่าใส่มากเกินไป เพราะลูกค้าอาจจะสับสนได้ เลือกมาเฉพาะเมนูเด็ดๆ ก็พอแล้ว
4.เลือก2เมนูเด็ดไว้บนสุดของเมนู
ใครเคยเป็นบ้าง ดูเมนูมาตั้งนาน สุดท้ายย้อนกลับไปสั่ง 2 จานแรกที่อยู่บนสุดของเมนู นี่ถือเป็นพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้บริโภคก็ว่าได้ ส่วนตำแหน่งที่ 3 ที่คนนิยมสั่งรองลงมาคือ บริเวณท้ายสุดของเมนู ฉะนั้นหากจานไหนเด็ดจริง (และมีกำไร) วาง 3 จานนั้นไว้ทั้ง 3 จุด ได้เลย
5.ตั้งราคาให้ดึงดูด
เทคนิคการตั้งราคา ที่คุ้นเคยและเห็นได้บ่อยๆ ก็คือ เทคนิคการตั้งราคา 199 หรือ 259 หรือ 299 แทบทุกร้านนิยมใช้เทคนิคนี้ เพราะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาไม่แพงจนเกินไป (แม้จะเพิ่มอีกแค่ 1 บาทก็ตาม) ฉะนั้น
6.เมนูไม่จำเป็นต้องเยอะ
บางร้านมีเมนูให้เลือกเป็นร้อยๆ ซึ่งดูเหมือนจะดีมีทางเลือกเยอะ แต่ความจริงแล้วเมนูยิ่งเยอะ ลูกค้ายิ่งเลือกยาก และยิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนร้านอีกด้วย ซึ่งตัวเลขที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปคือ ชนิดละ 7 เมนู (อาจแบ่งหมวดเป็นจานผัด จานทอด ของหวาน ฯลฯ)
7.ต้องมีเรื่องราว
ใครจะรู้ว่าประวัติของอาหาร มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อไม่แพ้รสชาติ และราคา เพราะมันทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าอาหารที่เขาซื้อมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ยิ่งเรื่องราวลึกซึ้งกินใจมากเท่าไร คนก็ยิ่ง “อิน” มากเท่านั้น ลองยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้ามีร้านพายแอปเปิ้ล 2 ร้านตั้งอยู่ใกล้กัน ร้านหนึ่งใช้ชื่อเมนูว่า พายแอปเปิล อีกร้านใช้ชื่อว่า พายแอปเปิลของคุณยาย คุณว่าลูกค้ามีแนวโน้มจะเลือกเดินเข้าร้านไหนมากกว่ากัน
8.ให้ข้อมูลลูกค้าให้มากขึ้น
ข้อนี้เป็นเทคนิคสำหรับร้านอาหารที่ต้องการจำหน่ายไวน์ ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดกลุ่ม Hi-end ฉะนั้นเทคนิคสำคัญในการจูงใจลูกค้าให้เลือกไวน์ที่เราต้องการจำหน่ายคือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไวน์ขวดนั้นๆ ให้มากที่สุด เพราะยิ่งเราให้ข้อมูลมากเท่าไร ลูกค้าก็มีแนวโน้มเลือกไวน์ขวดที่เราเสนอมากเท่านั้น
9.วางเมนูเด็ดไว้บริเวณพื้นที่โล่งๆ
ตามธรรมชาติของคน เมื่อใช้สายตาอ่านมากไป มักหันไปพักสายตากับพื้นที่ว่างๆ ดูสบายตา นักออกแบบเมนูจึงใช้หลักการนี้เป็นข้อได้เปรียบ หากเจ้าของร้านอาหารต้องการจำหน่ายอาหารจานไหนเป็นพิเศษ มักจะจัดวางเมนูนั้นไว้ที่พื้นที่ที่ค่อนข้างโล่ง แยกออกจากส่วนที่เป็นตัวอักษร เพราะเป็นส่วนที่มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะต้องหันมาพักสายตาและเห็นเมนูนี้แน่นอน
10.วัสดุที่ทำเมนูส่งผลต่อภาพลักษณ์ของร้าน
เคยสังเกตไหมว่า ร้านอาหารระดับ Hi-end ส่วนใหญ่ มักใช้แผ่นหนังหรือกระดาษแข็งคุณภาพสูงในการจัดทำเมนู เพราะวัสดุเหล่านี้สะท้อนภาพลักษณ์ของร้านอาหารได้เช่นกัน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า อาหารทุกจานต้องมีคุณภาพสูงตามวัสดุที่ใช้ทำเมนูไปด้วย
สำหรับท่านใดที่สนใจงานพิมพ์ของทางเรา Ce2Ads ผู้ผลิตสื่อ ณ จุดขาย เราพร้อมที่จะให้คำปรึกษา และยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่าน เราเข้าใจความต้องการของลูกค้า มีบุคลากร ที่มีความรู้ความชํานาญ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถผลิตงานที่สวยคมชัดได้มาตรฐานจากเครื่องพิมพ์ โดยวัสดุและหมึกพิมพ์ มีใบรับรอง (Certificate) จากต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับของสากล